วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปทฤษฎีสุขภาพจิต

สรุปทฤษฎีสุขภาพจิต

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 
(Psychoanalitic Theory)

     คิดค้นโดย (Sigmund Preud) เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นอธิบายและความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของบุคคล
 ฟรอยด์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ได้แก่ บุคลิกภาพที่มาตั้งแต่กำเนิดโดยอยู่ในจิตสำนึก บุคลิกภาพที่มีเหตุผลอยู่ในหลักความจริง บุคลิกภาพที่พัฒนาเมื่ออายุ 2-6 ขวบฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ
      -จิตสำนึก (Conscious) เป็นส่วนหนึ่งของจิตใจที่คนเรารู้สึกนึกคิดอยู่ในแต่ละขณะ
      -จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious) เป็นส่วนของจิตใจที่ตามปกติแล้วเราไม่ได้ตระหนักถึง เช่น การพยายามนึกถึง          เหตุการณ์อดีต
       - จิตไร้สำนึก (Unconscious) เป็นความรู้สึกนึกคิด หรือความต้องการที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม
 (Psychosocial Development Theory)

คิดค้นโดย Erik Erikson เป็นทฤษฎีที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆในสิ่งแวดล้อม ทุกช่วงวัยของชีวิตมีความสำคัญในการพัฒนา อิริคสันได้จำแนกพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์เป็น 8 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority) อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confusion) อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกาย
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) อีริควันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair)วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต
สรุปว่า ถ้าพัฒนาการวัยเด็กเป็นไปด้วยดีก็จะสร้างบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ในวัยผู้ใหญ่ด้วย แต่ถ้าพัฒนาการในวัยเด็กเป็นไปไม่อย่างสมบูรณ์ไม่สามารถผ่านพัฒนาการแต่ละขั้นได้ความรู้สึกที่พึงไม่ประสงค์ก็ย่อมมีผลต่อการพัฒนาในวัยผู้ใหญ่ เช่น เด็กที่เติบโตโดยขาดความอบอุ่นก็จะกลายเป็นคนที่เงียบขรึม

ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
(Interpersonal Theory)

              คิดค้นโดย Harry Stack Sullivan เป็นจิตแพทย์ซึ่งวิธีการบำบัดรักษาคนไข้โดยจิตวิเคราะห์ ต่อมาเขาได้เปลี่ยนวิธีการบำบัดรักษาโดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคบ โดยมีแนวคิดหลัก เน้น ความวิตกกังวลและ ระบบตน เป็นความเจ็บปวดจากความรู้สึกที่ไม่ได้รับความมั่นคง ความปลอดภัย แสดงออก 3 ลักษณะดังนี้
        1.       เริ่มต้นจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความวิตกกังวลจากแม่ถ่ายทอดไปยังลูก
        2.      สามารถอธิบายและสังเกตได้ รู้ตัวว่ารู้สึกอย่างไร แสดงพฤติกรรมอบ่างไร
        3.     พยายามกำจัดความวิตกกังวลนั้น โดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกต
            กล่าวโดยสรุปแฮรี่ จะมีความเชื่อมั่นว่า การพัฒนาบุคลิกภาพในเยาว์วัยมีความสำคัญมากะเป็นวัยที่กำหนดชี้แนวทางพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลในอนาคต


 กลุ่มพฤติกรรมนิยม
 (Behavioral Theory)

            กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) แยกตัวมาจากกลุ่ม Functionalism แนวโน้ม ของกลุ่มนี้เห็นจะเปลี่ยน จากเรื่องจิตมาเป็นเรื่องของพฤติกรรมล้วน ๆ โดยเห็นว่าพฤติกรรมที่ปรากฏและ สามารถสังเกตได้เท่านั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรศึกษาในจิตวิทยา
            ผู้นำของกลุ่มคือ จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878 - 1958) ที่มีความคิดค้านกับแนวความคิด ของกลุ่มศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วย สิ่งที่สังเกตและมองเห็นได้ นั่นก็คือ พฤติกรรมหลักของกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนอง การศึกษาสิ่งเร้า และการตอบ สนองจะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมได้
 ทฤษฎีและนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ได้แก่
            1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ของจอห์น.บี.วัตสัน (John B Watson คศ.1878 – 1958)
1.2  ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้าของ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย
1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)  ของ เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burrhus Skinner)
1.4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่องของ เอ็ดเวิร์ด  แอล. ธรอนได
1.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ โรเบิร์ต  เอ็ม  กาเย่ (Robert M. Gagne)
1.6 ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจอโรม บรูเนอร
1.7 ทฤษฎีการเรียนรู้ของชาร์ค แอล. ฮัลล์

ทฤษฎีกลุ่มมนุษย์นิยม
 (Humanistic Theory)
นักทฤษฎีที่สำคัญ  คือ Pavlov,Thorndike,Wolpe,Watson,Skinner  เชื่อว่าเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหลายเกิดจากการเรียนรู้ มิใช่แรงผลักดันภายในหรือจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือสิ่งแวดล้อม แต่เป็นการที่มนุษย์ได้มีประสบการณ์การเรียนรู้
ทฤษฎีมนุษย์นิยมให้ความสำคัญต่อผู้เรียนในลักษณะของการให้อิสระในการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ควรเกิดจากความต้องการ หรือเสียงเรียกร้องภายในตัวผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดได้ดีภายใต้บรรยากาศที่สบายไม่มีสิ่งคุกคามภายนอก และครูผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกที่จะคอยส่งเสริมสนับสนุน และควบคุมดูแลให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของจุง
(Jung’s Analytical Psyhology)

เขาให้ความสำคัญกับพัฒนาที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตภายหลังอายุ 1-5 ปี จุงกล่าวว่าตัวตน เกิดจากการประสมประสานกันระหว่างส่วนประกอบต่างๆที่อยู่ในจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก
จุงแบ่งบุคลิกภาพเป็น 3 ประเภทคือ
                  1.     บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Introvert) เช่น เป็นคนลึกลับ ชอบเก็บตัวและผูกพันกับตนเองมากกว่าผูกพันกับสังคม
                               2.     บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Exterrvert) เช่น เป็นคนเปิดเผย ร่าเริง ชอบเข้าสังคมและสนใจสิ่งแวดล้อม
                               3.     บุคลิกภาพแบบกลาง (Ambivert) มีลักษณะก้ำกึ่งบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและแบบเปิดเผย

                 จุงเสนอแนะว่าบุคลิกภาพเป็นกลางๆ เป็นบุคลิกภาพที่พอเหมาะซึ่งน่าจะปรากฏในบุคคลที่สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้มีประสิทธิภาพ

                                                                          
แนวความคิดตามทฤษฏีจิตวิทยารายบุคคล
(Individual  Psychology)
         เป็นผู้บุกเบิกแนวทางในการศึกษาพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ที่เน้นอิทธิพลของสัมพันธภาพระหว่างเพื่อมนุษย์หรืพฤติกรรมสังคม จิตวิทยารายบุคคลจึงเป็นทฤษฏีบุคลิกภาพที่มุ่งเน้นทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์โดยคำนึงถึงความซับซ้อนและการจัดระบบของแต่ละบุคคล
 ความปรารถนามีปมด้อย (Srtiving for Superiority) แรงจูงใจสำคัญซึ่งครอบงำพฤติกรรมส่วนใหญ่และลักษณะบุคลิกภาพของตน
 ปมด้อย (Inferiority) ความปรารถนามีปมเด่นจะสัมพันธ์กับความรู้สึกต่ำต้อย และการแสวงหาสิ่งชดเชย
 ประสบการณ์ในวัยเด็ก แอดเลอร์มีความเชื่อว่าประสบการณ์ในวัยเด็กมีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
            สัมพันธภาพภายในครอบครัว (Family Relationship) แอดเลอร์ตั้งข้อสังเกตว่าลำดับการเกิดในครอบครัวมีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล
 อิทธิพลแห่งวัฒนธรรม (Cultural Influencys) นอกจากอิทธิพลของครอบครัวแล้ว แอดเลอร์เห็นว่าวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่คนเราเกิดมาก็มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างบุคลิกภาพ ปัจจุบันเด็กใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโรงเรียน โรงเรียนจึงเป็นสถาบันที่สำคัญ
        วัฒนธรรมทางสังคมอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของคนเราเป็นอย่างมาก เป็นส่วนที่ทำให้คนแต่ละสังคม แตกต่างกันทั้งความคิดและการดำเนินชีวิต


แนวคิดตามทฤษฎีตัวตนของโรเจอร์
(Roger’s Self Theory)
คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์ส ตั้งทฤษฏีขึ้นมาจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถที่จะทำการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สำนึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญมาก โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
            ตนที่ตนมองเห็น
 (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
            ตนตามที่เป็นจริง 
(Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำ ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
            ตนตามอุดมคติ
 (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมาก จะทำให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมีความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ
       

ทฤษฎีบุคลิกภาพของฮอร์นาย
(Karen Horney)

            คาเรน ฮอร์นาย เป็นนักทฤษฎีที่มองปัญหาของมนุษย์อย่างมีความหวังและเชื่อว่ามนุษย์เป็นนายในการจัดแก้ไขปัญหาต่างๆในชีวิตของตนมิใช่เป็นทาสของปัญหา ความวิตกกังวลทำให้เด็กหาประสบการณ์แบบลองผิดลองถูกเพื่อลดความวิตกกังวล เรียกว่า ความต้องการทางประสาท ความต้องการเหล่านั้น ได้แก่
            1. ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection and approval)
2. ความต้องการคู่ และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
3. ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
4. ความต้องการอำนาจ ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
            5. ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ( to exploit others and get the better of them)

              มนุษย์ทุกคนจะมีความต้องการแบบนี้ทั้งสิ้นสำหรับคนที่มีสุขภาพจิตดีนั้นจะมีความต้องการน้อยกว่าคนที่มีสุขภาพจิตเสื่อมเพราะคนปกติสามารถแก้ปัญหาที่ขัดแย้งต่างๆดังนั้นฮอร์นายจึงเน้นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ



แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของฟรอมม์ อีริค ฟรอมม์
 (Erich Fromm)
                เชื่อว่าเกิดจากความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสังคมในการตอบสนองความต้องการของแต่ละคน แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้
                1. ความต้องการมีสัมพันธภาพ
                2. ความต้องการสร้างสรรค์
                3. ความต้องการมีสังกัด
                4. ความต้องการมีเอกลักษณ์
                5. ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว
                ดังนั้นสภาพของสังคมจึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์


 ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร 
(Transactional Analysis)

             เป็นการวิเคราะห์และเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์โดย อีริค เบอร์น (Eric Berne) ได้กล่าวถึงโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลที่เรียกว่า สภาวะส่วนตน เมื่อบุคคลมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นบุคคลนั้นมักจะมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เช่น น้ำเสียง คำพูด สีหน้า ท่าทาง
สภาวะส่วนตนมีโครงสร้างสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
                   1.     สภาวะความเป็นพ่อแม่ (Parent Ego State ) เป็นสภาวะส่วนตนที่แสดงบุคลิกภาพแบบพ่อแม่ที่เหนือกว่า เช่น ลักษณะของการวิจารณ์ การอบรมสั่งสอน
                                                             1.1     พ่อแม่ที่มีความเมตตา เช่น การช่วยเหลือ การปลอบโยน
                               2.     สภาวะความเป็นเด็ก (Child Ego state) เป็นสภาวะส่วนตนที่แสดงบุคลิกภาพแบบเด็กปราศจากการบังคับควบคุม เช่น ความสนุกสนาน ความเพ้อฝัน ความสร้างสรรค์
                        2.1 เด็กปรับตัว เช่น ตัดสินใจด้วยตนเองไม่เป็น ต้องคอยหาคนอื่นช่วยเหลือสนับสนุน
                                3.   สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult Ego State) เป็นสภาวะส่วนตนที่แสดงบุคลิกภาพในลักษณะการใช้เหตุผล

     

 นางสาววริศรา  ครองยุติ
สาธารณสุขศาสตร์582  เลขที่28